กระดูกบาง ต้องทาน แคลเซียมเสริม
ผมไปตรวจสุขภาพประจำปี ปีนี้คุณหมอบอกว่า กระดูกบางกว่าเดิม ต้องทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพิ่ม หรือไม่ก็ ต้องหาแคลเซียมเม็ดมาทานเสริม จึงค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งน่าจะมีประโยชน์สำหรับคนที่เป็นแบบผม อย่างนี้นะครับ ข้อมูลโดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ อธิบายว่า แคลเซียมเม็ด ทำมาจากหินปูนชนิดกินได้ นั่นก็คือ “แคลเซียมคาร์บอเนต” โดยแคลเซียมเม็ดนี้ |
|
มักมีสิ่งที่นิยมใส่ร่วมด้วย คือ บางชนิดทำจากแคลเซียมร่วมกับกรด
เช่น “แคลเซียม ซิเตรท” ซึ่งจะดูดซึมได้ดีกว่าชนิดหินปูนคาร์บอเนต
หรือใส่วิตามินซีกับวิตามินดีร่วมไปด้วย โดยเฉพาะแบบเม็ดฟู่
แต่ต้องระวังในคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร
ส่วนแคลเซียมแบบที่ควรระวัง คือ แคลเซียมเม็ดราคาถูกมาก
เพราะอาจทำมาจากกระดูกวัวควายป่น ซึ่งอาจได้ของแถมเป็นสารตะกั่ว ปรอท
และโลหะหนักอื่น หรือทำมาจากหินปูนจากภูเขา ซึ่งร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้
อาจสะสมให้เกิดนิ่ว หรือกินเข้าไปเป็นเม็ดก็ยังถ่ายออกมาเป็นเม็ดได้เหมือนเดิม
มีงานวิจัยชี้ว่า แคลเซียมจากอาหารสดจะช่วยลดการเกิดนิ่วในไตได้
แต่ถ้าเป็นแคลเซียมเสริมกินมากไป ควรระวังการจับตัวเป็นนิ่วในไตได้
ผู้ที่ควรกินแคลเซียม คือ
1.ผู้ที่กินอาหารสดไม่พอ โดยเฉพาะกุ้งแห้ง
ปลาเล็กปลาน้อย
2.ผู้ที่มีการใช้แคลเซียมเยอะมากกว่าปกติ เช่น สตรีมีครรภ์ ไม่อย่างนั้นอาจถูกลูกแย่งแคลเซียมจนฟันผุ หรือคนที่มีปัญหาต่อมไร้ท่อ ทำให้มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกมากกว่าปกติ 3.ผู้ที่เข้าวัยทอง เพราะมีโอกาสกระดูกพรุนสูงมาก โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสันหลังบั้นเอว ข้อตะโพกและข้อมือ 4.ผู้เสี่ยงกระดูกพรุน เช่น คนที่ผอมบางกระดูกเล็ก คนสูบบุหรี่ มีประวัติครอบครัวเป็นกระดูกพรุน |
|
ส่วนคนที่ไม่ควรกิน คือ
1.คนที่มีปัญหาเรื่องขับแคลเซียมออกไปไม่ได้ เช่น คนที่เป็นโรคไต
2.คนที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ เพราะแคลเซียมที่เกินอาจไปเกาะเป็นตะกรันหลอดเลือดหัวใจทำให้แข็งแต่เปราะและตีบตันง่าย 3.คนที่มีปัญหาเรื่องแคลเซียมสะสมตามตัวเช่น มีกระดูกงอกหรือเป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะ |
|
สำหรับการกินแคลเซียมต่อวัน แบ่งตามวัยเป็น 3 ช่วง
ดังนี้
1.วัยเด็ก วันละ 200-500
มิลลิกรัม
2.วัยผู้ใหญ่ วันละ 1,000 มิลลิกรัม 3.วัยทองกับสตรีมีครรภ์ วันละ 1,200 มิลลิกรัม
ถ้ากะประมาณก็กินราว 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ไม่ต้องกังวลว่าจะขาดจนเกินไป เพราะลำพัง
เรากินอาหารถ้าได้ปริมาณที่เหมาะสมดังที่บอกก็จะเพียงพอมากแล้ว
หรือถ้าท่านกินแคลเซียมเม็ดอยู่แล้วกลัวว่าจะได้เกินไป
ก็ขอให้กินแคลเซียมเม็ดเพิ่มอีกเพียงเม็ดหรือครึ่งเม็ดก็พอ
สำหรับอาหารที่มีแคลเซียมเยอะ หากคนที่ไม่มีเงินพอซื้อแคลเซียมเม็ดกิน เช่น แกงคั่วหอยขม ปลาร้าสับ กุ้งจ่อม อึ่งแห้ง เขียดย่าง หมกปลาแก้ว แจ่วปลาร้า และกุ้งชุบแป้งทอด โดยพบว่า ปลาร้าสับ กุ้งจ่อม หมกเคย กุ้งฝอยชุบแป้งทอด จะมีปริมาณแคลเซียมระหว่าง 393.6-915.3 มก. ต่อ 100 กรัม เรียกว่ากินแค่ 1 ขีดก็ได้แคลเซียมพอ ๆ กับกินแคลเซียมเสริม 1 เม็ดเลยทีเดียว วัตถุดิบอาหารแคลเซียม ที่เลือกกินง่ายแบบไทย ๆ นอกจากที่เราเคยรู้มีดังนี้
1.งาดำ รับประทานให้ได้ราว 2 ช้อนโต๊ะต่อวันจะได้แคลเซียมเกือบเท่ากับแคลเซียมเสริมทั้งเม็ดเช่นกัน
2.พริก กระถิน ใบยอ กะเพราโหระพา กระเจี๊ยบ ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ปวยเล้ง คะน้า เหล่านี้เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีแต่มักถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นผัก ให้กินวันละอย่างน้อย 3 ทัพพีร่วมกับอาหารแคลเซียมชนิดอื่น โดยเฉพาะพริกนั้น การกินพริกป่นวันละ 1-2 ช้อนชาได้แคลเซียมถึง 1 ใน 3 ของที่ต้องการต่อวัน 3.กะปิและกุ้งแห้ง 4.เต้าหู้ แต่ขอให้เลือกชนิดแข็งเช่นเต้าหู้ขาวแข็งจะดีกว่าแบบนิ่ม เพราะผ่านกระบวนการที่ช่วยเติมแคลเซียมโดยไม่รู้ตัว นั่นคือการใส่ “เจียะกอ” ซึ่งก็คือ “ยิปซัม” หรือแคลเซียมซัลเฟตนั่นเองครับ จึงทำให้เต้าหู้ชนิดนี้เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีมากครับ 5.นอกจากนั้นยังมีมากใน โยเกิร์ต และชีส ไม่ต้องกลัวอ้วนเพราะส่วนใหญ่เป็นโปรตีน แต่ถ้าเนยจะเป็นไขมัน
อย่างไรก็ตาม
การกินแคลเซียมอย่างเดียวอาจทำให้ท้องผูกได้ เคล็ดลับ คือ ต้องกินร่วมกับ “แมกนีเซียม”
ซึ่งได้จากผักและผลไม้
จะเห็นว่าเดี๋ยวนี้แคลเซียมเม็ดมักเติมแมกนีเซียมไปด้วย
****ข้อมูลจาก http://www.never-age.com**** |