อาการลมจับ
“ลมจับ” คือ อาการทางร่างกายที่เริ่มหน้ามืด ตาเริ่มมัว ทรงตัวไม่อยู่ใกล้จะหมดสติได้ หรือ หมดสติไปเลย ดังนั้น เวลา ผู้คนลมจับจึงมาจากเหตุใหญ่ๆ คือ อยู่ในที่ร้อนอบอ้าว ทำงานเกินตัว หรือพักผ่อนน้อย และเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือช็อก ทำให้เกิดอาการวิเวียนศีรษะ หายใจหายคอไม่สะดวก แข้งขาอ่อนแรง ล้มพับกองอยู่กับพื้นได้
ในทางการแพทย์แผนไทยที่มีมาแต่โบราณถือว่า ความเจ็บป่วยมาจากธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศธาตุ ที่เกิดอาการระส่ำระสาย หรือไม่ ก็มีธาตุมาแรง หรือออกอาการเด่นกว่า ก็เรียกโรคทางนั้น เช่น โรคจากวาตะ(ลม) จากปิตตะ(ไฟ) เป็นต้น
วิธีแก้ลมจับอย่างง่ายที่สุดที่ทำกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน คือ ใช้ยาดม ยาดมส่วนใหญ่มีกลิ่นหอมสดชื่นซึ่งมักจะเป็นกลิ่นออกรสส้ม ที่ใช้กันมาแต่โบราณ คือ กลิ่นของมะกรูด โดยใช้เล็บจิกที่ผิวมะกรูด ให้น้ำมันที่ผิวนำกลิ่นหอมสดชื่นออกมาให้สูดดม
ในทางการแพทย์แผนไทย อาการลมจับ ยังอาจหมายถึง อาการลมขึ้นเบื้องสูง หรือลมพัดขึ้นเบื้องบน ที่อธิบายได้ว่า ลมเคลื่อนตัวจากสะดือถึงหัว ทำให้มีอาการหาวเรอบ่อยๆ อยากอาเจียน เป็นต้น นอกจากลมประเภทนี้แล้ว ศาสตร์การแพทย์แผนไทยของเรา ยังอธิบายลมอีก 5 ชนิดที่เหลือ ได้
-ลมที่พัดลงเบื้องล่าง ลมเคลื่อนที่จากสะดือถึงปลายเท้า มักมีอาการอุจจาระปัสสาวะแปรปรวน หากเป็นมากอาจส่งผลให้ยกแข้งยกขาไม่ค่อยไหว และมีอาการเมื่อยขบตามข้อด้วย
-ลมในท้องแต่นอกลำไส้ มักมีอาการเจ็บท้อง มีการบีบตัวมาก
-ลมในท้อง แต่อยู่ในลำไส้ เป็นลมในกระเพาะอาหาร ในทางเดินอาหาร อาการที่เด่นชัดของโรคคือ มีอาการจุกเสียด แน่นหน้าอก และอาจจะมีอาการอยากอาเจียน ด้วย
-ลมแล่นทั่วร่างกาย หมายถึง ลมที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว หรือทำให้ร่างกายขยับเขยื้อนได้ดี
-ลมหายใจเข้า-ออก เพื่อทำให้ร่างกายยังมีชีวิตอยู่
ขอบคุณข้อมูลจาก มติชนสุดสัปดาห์ –คอลัมท์ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ร้านวิรัติพานิช 42-44 ถนนท่าช้าง อ.เมือง จ.อุทัยธานี 61000 โทร. (056) 511389 หรือ 081-1725974 ติดต่อคุณนรินทร์ สวนศิลป์พงศ์ Blog: yahomtratabtim.blogspot.com e-mail : narins@scb.co.th. line: narin1411
วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
กระชาย ชะลอความแก่ และบำรุงกำลัง
กระชาย ชะลอความแก่ และบำรุงกำลัง
เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้า และรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย
น้ำมันหอมระเหยของกระชายมีฤทธิ์บรรเทาอาการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด นอกจากนั้นยังมีสารที่มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการปวดเกร็ง
การมีอายุที่ยืนยาวน่าจะมีองค์ประกอบในทางการแพทย์ร่างกายที่มีสุขภาพดีไม่มีโรคหลอดเลือดแข็งตัว ระบบประสาททำงานได้อย่างดี ปราศจากโรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็งและตับทำงานกำจัดสารพิษได้ดี การอักเสบแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ได้แก่ การเกิดความไม่เสถียรของโคเลสเตอรอลที่สะสมภายในผนังหลอดเลือดทำให้เกิดอาการหัวใจวาย อาการอักเสบเรื้อรังกัดกร่อนเซลล์ประสาทในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรืออาจกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง เนื่องจากรากกระชายมีสารที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายการบริโภคแอสไพริน และอาจป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้
บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfuntional หรือ ED)
การแข็งตัวขององคชาตเกิดจากการมีเลือดเข้าไปคั่งอยู่ในอวัยวะดังกล่าวนับเป็นผลจากการคลายตัว ของเนื้อเยื่อที่เรียกว่า cavernous tissues ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และปัจจัยเฉพาะในอวัยวะดังกล่าว
สาเหตุและปัจจัยโน้มนำที่ก่อให้เกิดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี มีหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ความชราภาพ ความดันเลือดสูง เบาหวาน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง หลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ หรือความผิดปกติที่ทำให้ระบบประสาททำงานลดลง
ภูมิปัญญาไทยใช้รากกระชายบำบัดอาการอีดี โดยกินทั้งราก เนื่องจากในรากกระชายมีสารที่ออกฤทธิ์คลายการหดตัวของผนังหลอดเลือด เนื่องจากกระชายเป็นพืชอาหารของไทย ไม่พบรายงานความเป็นพิษเมื่อบริโภคในระดับที่เป็นอาหาร
**********************************************************
ดูโฆษณาสมุนไพรไทยนี้แล้วชอบ สื่อตรงดี เลย Load มาให้ชมดูครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)