วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

ยาหอมตราทับทิม (หมอวิรัติ) กับความเป็นมา

ภูมิปัญญาแพทย์จีน รักษาด้วยคุณธรรมและน้ำใจ สู่ตำรับยาหอม หมอวิรัติ ของดีเมือง อุทัยธานี

                        หมอวิรัติ  เป็นลูกหานชาวจีนเกิดในชุมชนอุทัยธานี ถูกส่งไปเรียนวิชาการแพทย์ที่ประเทศจีน ใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมา “แมะ”     หรือ จับชีพจร  เพื่อตรวจรักษาคนไข้ โดยออกใบสั่งยาไปให้ร้านขายยาสมุนไพรจีน เช่น ฮกแซตึ้ง  หรือ ซ่งแซตึ้ง  เจียดยาให้คนไข้นำกลับไปต้มกิน  โดยไม่คิดเงิน แต่คนไข้มักจะใส่ซอง หรือ ห่อกระดาษแดง   ให้เป็นเสมือนค่ายกครู   ห้าบาท สิบบาท หมอวิรัติ รักษาคนไขแบบนี้มานานหลายปี จนกรทั่งเริ่คิดค้นและเขียน ตำราการรุงยาหอม  ด้วยภูมิปัญญาที่ได้ศึกษารียรู้มา โดยใช้ชื่อว่า  ยาหอม ตรา หมอวิรัติ   ก่อนจะเลี่ยนชื่อเป็ยาหอมตราทับทิม. 

     



                ยาหอมตราทับทิม ประกอด้วยมุนไพร ลายชนิด อาทิ โกฐสอ  จันทร์เทศ เปลือกอบเชย กานพลู   กฤษณาเนื้อไม้ ผิส้มเขียว ชะเอมเทศ      มีสรรคุณ แก้อาการวินเวียศีรษะ  ป็นลมหมดติ นอนม่หลับ     บำรุงครรภ์ บำรุงหัวใจ  ถอนพิษเบื่อเมา เป็นต้น   
                ระยะแรกของการรุงยาหอม หมอวิรัติ ได้แจกจ่ายให้คนข้ลองเอาไปช้ พอได้ผลดี จึงเริ่มทำขาย โดยเปิดเป็น  ร้านขายาหอม    ใช้ชื่อว่า  ร้านวิรัติพานิช
              ช่วงแรกริ่ม ยาหอม ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก   เพราะใช้วิธีการปรชาสัมพันธ์แบผู้ช้ บอกต่ ไป จนกระทั่ง ทายาทรุ่นที่ สอง  ด้เรียนรู้และศึกษาวิธีการปรุยาหอมจากตำรา ที่ผู้ป็นพ่อ ด้เขียนทิ้งเอาไว้ให้ โดยน้นวิธีการปรุงยาย่ามีคุณภาพ  สะอาด และปลอดภัจนได้ มาตรฐาน จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จากนั้น จึงใช้เทคนิคกาขาย แบบลดแลกแจกแถม บ้างก็ วายพระ พระจึงนำไปให้ญาติโยมช้ พื่อใช้แล้วดี  ได้ผลชะงัด  จึงเกิการบอกต่กันไป จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่ลายมากขึ้น


              ปัจจุบัน ยาหอมราทับทิม สูตรหมอวิรัติ ลายป็นของดีประจำเมืองอุทัยธานี และถูส่งไขายทั่วประเทศ    ทายาทรุ่นที่ สอง ได้  มีโครการลูกร้างถานที่ผลิตยาเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่กระวงสาธารณะสุข กำหนด สำหรับปรุงยาหอม และยาสูตอื่นๆ ของหมอวิรัติ  ด้วยเจตจำนง  ที่จะสืบทอดภูมิปัญาของหมอวิรัติ จากรุ่พ่อสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน ให้ดำรสืบนื่องไปในอนาคต

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปอบิด. กับสรรพคุณ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง...




ปอบิด วางขายอยู่ทั่วไปพร้อมทั้งแจ้งสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ลดน้ำหนัก แก้เหน็บชา ชาปลายมือปลายเท้า ภูมิแพ้ ไทรอยด์ ปวดข้อ เข่า หลัง รวมถึง ไมเกรน บำรุงตับ ไต และใช้ได้ในโรคเรื้อรังทุกชนิด รวมถึงระบบของสตรี ด้วยวิธีการเตรียมที่ง่าย สะดวก โดยการต้ม และมีรสชาติที่ดื่มง่าย ดังนั้นมีผู้คนจำนวนมากเริ่มสนใจ และใช้มัน และมีหลายคนที่ตั้งคำถามที่ว่ามันใช้ได้จริงหรือ และปลอดภัยหรือไม่


ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับปอบิดก่อน ปอบิดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicteres isora L. เป็นพืชในวงศ์ Sterculiaceae มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นมากมาย เช่น ปอกะบิด ปอทับ มะปิด มะบิด (พายัพ) ขี้อ้นใหญ่ ปอลิงไซ (ภาคเหนือ) ลูกบิด (ไทยภาคกลาง) ซ้อ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) เซ้าจี (สระบุรี) เป็นพืชที่ขึ้นเองตามริมป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ที่รกร้าง แม้กระทั่งในบริเวณกรุงเทพมหานคร พบได้ทั่วไปทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอินเดีย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงไม่มากประมาณ 1-2 เมตร มีขนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง ขอบใบหยัก เมื่อลูบผิวใบรู้สึกสากคาย ออกดอกปีละครั้ง ช่วงเวลาอาจแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและภูมิอากาศ ตามบันทึกขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ ออกดอกและติดผลประมาณเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม แต่ตัวผู้เขียนเองเคยพบที่สระบุรี ออกดอกช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนเมษายน กลีบดอกสีส้มอิฐ เป็นหลอด เมื่อติดฝัก เป็นฝักยาว 3-4 ซม. บิดเป็นเกลียวคล้ายเชือกขวั้น เมื่อแก่จะแตก มีสีน้ำตาลดำ


การศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของปอบิดในโรคอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ โรคเบาหวาน พบว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่ทำให้เป็นเบาหวาน และป้องกันไม่ให้ระดับไขมันสูงขึ้นซึ่งมักพบตามมาหลังจากการเป็นเบาหวาน ฤทธิ์ของสารสกัดคล้ายกับยาไกลเบนคลาไมด์. การทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่าเพิ่มการขนส่งน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อของหนู. และเพิ่มการขนส่งน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อกระบังลมแต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาเมทฟอร์มิน อย่างไรก็ดีการทดลองเหล่านี้แม้จะสรุปได้ว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิด น่าจะมีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะระบุขนาดที่ใช้ และยังไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง จำเป็นต้องมีการทดลองเพิ่มเติมต่อไปทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความเป็นพิษ เนื่องจากปอบิดไม่ใช่พืชอาหาร การทดลองเพื่อหาความเป็นพิษเมื่อใช้ระยะยาวเป็นอีกงานวิจัยที่สำคัญ อนึ่งพบว่าสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีรายงานความเป็นพิษต่อตับและไต หากรูปแบบหรือขนาดที่ใช้ไม่ถูกต้อง ในกรณีที่ยังมีข้อมูลไม่ครบเช่นนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกใช้ด้วยตนเอง หรือได้ทดลองใช้แล้ว ให้ตรวจภาวะการทำงานของตับไตอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน และห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติ หรือแม้แต่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคตับ หรือโรคไต 
สำหรับโรคอื่นๆที่กล่าวอ้างถึงนั้น ยังไม่พบการวิจัยที่พิสูจน์ฤทธิ์ดังกล่าว อีกทั้งโรคเรื้อรังต่างๆที่กล่าวอ้างนั้น ไม่ได้มีข้อมูลการใช้แผนโบราณสนับสนุน ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกใช้